วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

เศรษฐกิจพอเพียงและประชาคมอาเซียน



เศรษฐกิจพอเพียงและประชาคมอาเซียน
 การที่ประเทศไทยของเรานั้นจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชมอาเซียนได้อย่างสมบูรณ์พร้อมมูลนั้น ย่อมจะต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลายๆอย่างมาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อเสถียรภาพที่มั่นคงถาวรอย่างแท้จริงแนวทางสำคัญอย่างหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมอบไว้แก่ชาวไทยทุกๆคนนั้น คือ หลักเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งมีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับ ความพอประมาณ, การมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน โดยต้องอาศัยหลักความรู้คู่คุณธรรมประกอบกันด้วย หลักการเหล่านี้สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน เพราะว่า ก่อนที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมดังกล่าวได้อย่างเต็มภาคภูมินั้น จำต้องสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้ได้มากพอที่จะเป็นที่ยอมรับของกลุ่มประเทศต่างๆในประชาคมที่จะเกิดขึ้นภายในอีก 3 ปีข้างหน้าที่จะมาถึงนี้ 


จึงถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา ค้นคว้า และทำความเข้าใจหลักการพื้นฐานที่สำคัญอย่างถ่องแท้และถี่ถ้วน ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสอนไว้แก่พสกนิกรที่พระองค์ทรงรัก เพื่อที่จะสร้างเสถียรภาพในทุกๆด้านแก่ประเทศไทยซึ่งย่อมส่งผลต่อมุมมองของประเทศอื่นๆ ที่กำลังจ้องมองเราด้วยความคิดและการพินิจพิจารณาที่แตกต่างกันออกไป นับว่าเป็นโชคดีของประเทศไทย เพราะมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นห่วงเป็นใยอาณาประชาราษฎร์ทุกหย่อมหญ้าเช่นอย่างพระเจ้าอยู่หัวของเรา ขอน้อมนำแนวพระราชดำรัสเหล่านี้ มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่จะต้องเปลี่ยนไปตลอดกาลกับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน











วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

โครงการเศรษฐกิจพอเพียง ปี2559 กศน.อำเภอสูงเม่น



๑.โครงการ จัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปีงบประมาณ ๒๕๔๙

ความสอดคล้องกับนโยบายสำนักงาน กศน. :  สอดคล้องกับนโยบายสำนักงาน กศน. : นโยบายการศึกษานอกระบบ ข้อ.๑.๔ (๓) มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนตามหลักแนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้หลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการในรูปแบบของการฝึกอบรม การเรียนทางไกลฯ

๒.สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา กศน. : มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพผู้เรียน/ผู้รับบริการ ตัวบ่งชี้ที่ ๗ ผู้เรียนมีงานทำหรือมีรายได้เสริม มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริตและมาตรฐานที่ ๒ คุณภาพการจัดการศึกษา/การให้บริการ ตัวบ่งชี้ที่ ๓ คุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูและผู้สอนที่เน้นผู้เรียน/ผู้รับบริการเป็นสำคัญ ตัวชี้วัดที่ ๔ ร้อยละของชุมชน(ตำบล / หมู่บ้าน)เป้าหมายที่ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับการอบรมหลักสูตร OTOP Mini MBA ตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนเพื่อการมีงานทำแล้ว สามารถจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ระดับตำบล/หมู่บ้านได้   

๓. หลักการและเหตุผล
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางปฏิบัติตน โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อพร้อมรับต่อความเสี่ยง บนพื้นฐานของความรอบรู้ ความรอบคอบ ระมัดระวัง และคุณธรรม การใช้ความรู้อย่างถูกหลักวิชาการ ด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง ควบคู่ไปกับการกระทำที่ไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความร่วมมือปรองดองกันในสังคม จะสร้างสายใยเชื่อมโยงคนในภาคส่วนต่างๆ ของสังคมเข้าด้วยกัน สร้างสรรค์พลังในทางบวก นำไปสู่ความสามัคคี การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน และการพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และเพื่อให้ประชาชนภายในเขตพื้นที่ได้ตระหนัก และเกิดการเรียนรู้ในการพึ่งพาตนเอง มีการดำเนินชีวิตให้อยู่อย่างพอประมาณตน  เดินทางสายกลาง มีความพอดีและพอเพียงกับตนเอง ครอบครัว และชุมชน  โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกต่าง ๆ    โดยใช้ปัจจัยด้านพื้นฐานในการดำเนินชีวิตที่ประชาชนโดยทั่วไปใช้ในการบริโภค  มีส่งเสริมให้ใช้พื้นที่ว่างเปล่าในบริเวณบ้าน  รั้วรอบบ้าน ปลูกพืชประเภทพืชสมุนไพร เครื่องเทศ และล้มลุกต่าง ๆ ไว้ ซึ่งจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว  และเป็นการสร้างกิจกรรมนันทนาการ  เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  มีคุณค่า สร้างความรักสามัคคี  พัฒนาความผูกพันในครอบครัวมากยิ่งขึ้น
          ดังนั้น นักศึกษา ประชาชนในพื้นที่อำเภอสูงเม่น ได้เล็งเห็นความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้มี การกำหนดให้มีกิจกรรมการศึกษาเพื่อเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ขึ้น     

๔.วัตถุประสงค์
          ๑. เพื่อให้ประชาชนมีการใช้ชีวิตประจำวันตามหลักการของความพอเพียง  ความพอดี  การใช้ชีวิตอย่างรอบครอบ  ไม่ฟุ่มเฟือย  ใช้ชีวิตในความไม่ประมาท  ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์  มีคุณค่า  เกิดรายได้
          ๒.  เพื่อให้ประชาชนโดยทั่วไป  สำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และตระหนักถึงถึงความห่วงใย ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
          ๓. เพื่อให้ ประชาชนภายในเขตพื้นที่สามารถลดรายจ่ายภายในครัวเรือน
          ๔. เพื่อให้ประชาชนพึ่งพาตนเอง มีการดำเนินชีวิตให้อยู่อย่างพอประมาณตน  เดินทางสายกลาง มีความพอดีและพอเพียงกับตนเอง ครอบครัว และชุมชน






๕.เป้าหมาย
     เชิงปริมาณ  กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษาประชาชนในในเขตอำเภอสูงเม่น เข้าร่วมโครงการการศึกษาเพื่อเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งสิ้น จำนวน  ๑,๑๘๐   คน
     เชิงคุณภาพ นักศึกษาประชาชนในเขตอำเภอสูงเม่น เข้าร่วมโครงการศึกษาเพื่อเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตระหนัก และเกิดการเรียนรู้ในการพึ่งพาตนเอง มีการดำเนินชีวิตให้อยู่อย่างพอประมาณตน  เดินทางสายกลาง มีความพอดีและพอเพียงกับตนเอง ครอบครัว และชุมชน

๖. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
กิจกรรมหลัก
วัตถุประสงค์

กลุ่มเป้าหมาย

เป้าหมาย
พื้นที่ดำเนินการ
ระยะเวลา
งบประมาณ
๑.สำรวจความต้องการการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาประชาชนในอำเภอสูงเม่น
เพื่อเก็บรวมรวมข้อมูลความต้องการนำไปสู่กระบวนการจัดการศึกษาเพื่อเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
คณะครู และ นักศึกษา กศน.อำเภอสูงเม่น

คณะครู กศน.อำเภอสูงเม่น
จำนวน ๒๐  คน
กศน.
อำเภอสูงเม่น

วันที่ ๖ มกราคม๒๕๕๘
-
๒. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาประชาชนในอำเภอสูงเม่น ที่ร่วมโครงการการศึกษาเพื่อเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อทำความเข้าใจชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อให้
ชุมชนพึ่งตนเองได้
นักศึกษาประชาชนในอำเภอสูงเม่น
ผู้เข้าร่วมโครงการทราบวัตถุประสงค์และให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโครงการฯ จำนวน ๑,๑๘๐   คน

อำเภอสูงเม่น
จังหวัดแพร่
วันที่ ๑๐  มกราคม๒๕๕๘
-
๓.๑ การจัดกิจกรรมเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
- การทำบัญชีครัวเรือน

๑. เพื่อให้ประชาชนโดยทั่วไปในอำเภอมีการใช้ชีวิตประจำวันตามหลักการของความพอเพียง  ความพอดี  การใช้ชีวิตอย่างรอบครอบ  ไม่ฟุ่มเฟือย  ใช้ชีวิตในความไม่ประมาท  ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์  มีคุณค่า  เกิดรายได้
ตำบลสบสายนักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๓๐ คน
๓๐ คน
ตำบลสบสาย
มี.ค.๕๙

ตำบลร่องกาศนักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๒๕ คน
๒๕ คน
ตำบลร่องกาศ
มี.ค. ๕๙

ตำบลเวียงทองนักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ตำบลเวียงทอง
มี.ค. ๕๙

ตำบลน้ำชำ
นักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ตำบลน้ำชำ
มี.ค. ๕๙

ตำบลดอนมูลนักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ตำบลดอนมูล
มี.ค. ๕๙


กิจกรรมหลัก
วัตถุประสงค์

กลุ่มเป้าหมาย

เป้าหมาย
พื้นที่ดำเนินการ
ระยะเวลา
งบ
ประมาณ


ตำบลพระหลวงนักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ตำบลพระหลวง
มี.ค. ๕๙

ตำบลบ้านกาศนักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ตำบลบ้านกาศ
มี.ค. ๕๙

ตำบลบ้านปงนักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ตำบลบ้านปง
พ.ค. ๕๙

ตำบลบ้านกวางนักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ตำบลบ้านกวาง
มิ.ย. ๕๙

ตำบลสูงเม่นนักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๒๐ คน
๒๐ คน
ตำบลสูงเม่น
มิ.ย. ๕๙

ตำบลหัวฝายนักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๒๐ คน
๒๐ คน
ตำบลหัวฝาย
มิ.ย. ๕๙

ตำบลบ้านเหล่านักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๒๐ คน
๒๐ คน
ตำบลบ้านเหล่า
ส.ค. ๕๙

-กิจกรรมการปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้
-กิจกรรมการเพาะเห็ดฟางและการเพาะเห็ดถั่ว
- เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในกระบวนการปลูกผักสวนครัวและการเพาะเพาะเห็ดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจกิจพอเพียง
ตำบลบ้านกวางนักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๒๕ คน
๒๕ คน
ตำบลบ้านกวาง
ม.ค. ๕๙
๗.๕๐๐
ตำบลบ้านเหล่านักศึกษาและประชาชน จำนวน ๕๐ คน
๕๐ คน
ตำบลบ้านเหล่า
มี.ค. ๕๙
๕,๐๐๐
ตำบลสูงเม่นนักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนบ้านท่าม้า ต.สูงเม่น
มี.ค. ๕๙
๓,๕๐๐
ตำบลหัวฝายนักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
บ้านทุ่งเจริญ หมู่ที่ ๔
มี.ค. ๕๙
๔,๖๐๐

กิจกรรมหลัก
วัตถุประสงค์

กลุ่มเป้าหมาย

เป้าหมาย
พื้นที่ดำเนินการ
ระยะเวลา
งบ
ประมาณ


ตำบลบ้านปงนักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ตำบลบ้านปง
มี.ค. ๕๙
๔,๖๐๐
ตำบลพระหลวง
นักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
รพ.สต.พระหลวง
มี.ค. ๕๙
๓,๒๐๐
ตำบลบ้านกาศนักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๓๐ คน
๓๐ คน
ตำบลบ้านกาศ
มี.ค. ๕๙
๔,๘๐๐
ตำบลเวียงทองนักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ตำบลเวียงทอง
มิ.ย. ๕๙
๗,๕๐๐
ตำบลน้ำชำ
นักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
พื้นที่ตำบลน้ำชำ
มิ.ย. ๕๙
๗,๕๐๐
ตำบลสบสาย
นักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนบ้านวังวน ต.สบสาย
มิ.ย. ๕๙
๓,๒๐๐
ตำบลหัวฝายนักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ศูนย์เรียนรู้ชุมชนหมู่ ๑๑  ตำบลหัวฝาย
ก.ค.๕๙
๔,๕๐๐
ตำบลร่องกาศนักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ตำบลร่องกาศ
ส.ค. ๕๙
๕,๕๐๐
- กิจกรรมการพัฒนาอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
-การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
-การทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด
-การทำน้ำยาเอนกประสงค์ กิจกรรมลดรายจ่ายเพิ่มรายได้
- เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในกระบวนการปุ๋ยหมักชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ และการทำน้ำยาเอนกประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจกิจพอเพียง
ตำบลร่องกาศ
นักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนบ้านร่องกาศ
มี.ค. ๕๙
๒,๐๐๐
ตำบลสบสาย
นักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนบ้านวังวน ต.สบสาย
มี.ค. ๕๙
๓,๒๐๐
ตำบลบ้านปง
นักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนบ้านปง
พ.ค. ๕๙
๓,๒๐๐



กิจกรรมหลัก
วัตถุประสงค์

กลุ่มเป้าหมาย

เป้าหมาย
พื้นที่ดำเนินการ
ระยะเวลา
งบ
ประมาณ


ตำบลบ้านกาศ
นักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนบ้านม่วงเกษม ต.บ้านกาศ
มิ.ย. ๕๙
๓,๒๐๐
ตำบลดอนมูล
นักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบลดอนมูล
มิ.ย. ๕๙
๔,๐๐๐
ตำบลพระหลวง
นักศึกษาและประชาชน จำนวน  ๕๐ คน
๕๐ คน
ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านพระหลวง
มิ.ย. ๕๙
๓,๒๐๐


๗.งบประมาณ

          - งบประมาณขยายโอกาสและพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผลผลิตที่ ๔ ผู้รับบริการศึกษานอกระบบงบดำเนินการศึกษาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง รหัส......................... จำนวน          เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามรายละเอียดดังนี้
         
๘. แผนการใช้จ่ายงบประมาณ  เป็นรายไตรมาส

กิจกรรมหลัก
ไตรมาส ๑
(ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๗)
ไตรมาส ๒
(ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๘
ไตรมาส ๓
(เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๘)
ไตรมาส ๔
(ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘)

วัสดุที่ใช้ในโครงการสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรม






๙.ผู้รับผิดชอบโครงการ
๑. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสูงเม่น
๒. ครู กศน.ตำบล

๑๐.เครือข่าย/ผู้เกี่ยวข้อง
 -
๑๒.ผลลัพธ์

          เพื่อให้กลุ่มนักศึกษาประชาชนอำเภอสูงเม่น มีความเข้าใจในหลักการเรียนรู้และเข้าใจในการประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ (การทำผ้ารองครก และการประดิษฐ์ของใช้จากเส้นพลาสติก) และนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริมและมีการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของความพอเพียง  มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีแนวทางดำเนินชีวิตในการเพิ่มรายได้  ลดรายจ่าย ให้กับตนเองและครอบครัว รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  มีเงินออม และมีรายได้เพิ่มขึ้น

๑๓  ดัชนีชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิธีการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้
ผลผลิต  (Output  )
       ผู้เข้าร่วมกิจกรรม  สามารถปฏิบัติกิจกรรมตามหลักสูตรได้อย่างถูกต้อง  และมีผู้จบ  หรือสำเร็จหลักสูตร คิดเป็นร้อยละ ๘๐  ของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯ  


ประเมินจากการพูดคุย          สอบถามและการแสดงออกของผู้ร่วมโครงการฯ

การสังเกต
การพูดคุย
ผลลัพธ์ ( Outcomes)
       ผู้เข้าร่วมโครงการฯ 
ร้อยละ  ๘๐  มีความรู้  ทักษะกระบวนการ  และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้  เพื่อสร้างอาชีพให้มีความเข้มแข็ง  และยั่งยืนต่อไป

ประเมินจากการร่วมมือกันในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการฯ

การสังเกต
การพูดคุย

๑๔.  การติดตามประเมินผลโครงการ
-  วัดผล และประเมินผลระหว่างดำเนินการ ติดตามหลังการดำเนินการ ติดตามการนำไปใช้



      ลงชื่อ....................................................ผู้เสนอโครงการ
                                               (นางณัฐกานต์  เวียงอินทร์)
                                                      ครู กศน.ตำบล



 ลงชื่อ..................................................ที่ปรึกษาโครงการ
                                                  (นายวิทยา  ปินตา)
                                  ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน/ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายแผน



                                  ลงชื่อ................................................... ผู้ตรวจเสนอ
                                         (นางสาวบุษบา  เดือนดาว)
ครู ชำนาญการ



.                                   ลงชื่อ..........................................................ผู้เห็นชอบโครงการ
       (นางสาวอรุณี  พันธุ์พาณิช)
          ผอ.กศน.อำเภอสูงเม่น
      


                                 ลงชื่อ...........................................................ผู้อนุมัติโครงการ
                                           (นายอธิญณัฏฐ์  ธนะเพทย์)
                                             ผอ.สนง.กศน.จังหวัดแพร่